ประวัติพระราชอริยคุณาธาร

ประวัติพระราชอริยคุณาธาร (หล่ำยั่งยืน) ผู้สร้างโรงเรียนแกลง”วิทยสถาวร”

  
บิดาชื่อ ขุนคลังรัตน (แดง ยั่งยืน) และมารดาชื่อ นาง หอย ยั่งยืน มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 7 คน เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม 2431 ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 15 ค่ำ เดือน 6 ปีชวด
ที่บ้านพลงช้างเผือก ตำบลวังหว้า(ปัจจุบันตำบลทางเกวียน) อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

ชาติภูมิ

พระ ราชอริยคุณธาร (หล่ำ ยั่งยืน) เกิดในสมัยราชกาลที่ 5 ณ บ้านพลงช้างเผือก ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2431 ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 15 ค่ำ เดือน 6 ปีชวด สัมฤทธิศก (จ.ศ.1250) บิดาชื่อขุนคลังรัตน (แดง ยั่งยืน) มารดาชื่อนางหอย ยั่งยืน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 7 คน คือ
1. เป็นหญิง ชื่อแสง
2. เป็นหญิง ชื่อสาย
3. เป็นหญิง ชื่อเหรียญ
4. เป็นหญิง ชื่อเที่ยง
5. เป็นชาย ชื่อเหล
6. เป็นชาย ชื่อหล่ำ (พระราชอริยคุณาธาร)
7. เป็นชาย ชื่อเหลื่อม (ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 7 ขวบ)

การศึกษา

เมื่อ เยาว์วัยได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่วัดพลงช้างเผือก พออายุได้ 13 ปี ไปเรียนต่อที่วัดโพธิ์ทองพุทธาราม ถึง พ.ศ.2446 จึงสำเร็จการศึกษาชั้นมูลฐาน ตามหลักสูตรของมหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ (ม.ร.ว. ชื่น สุจิตฺโต) สมัยที่ยังทรงสมณศักดิ์เป็นพระสุคุณคณาภรณ์และเป็นเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี อำนวยการตั้งขึ้น
ต่อมาได้ศึกษาต่อตามหลักสูตรของกระทรวงธรรมการจนจบหลัก สูตรประโยคประถมศึกษา หลังจากจบการศึกษาแล้ว อายุ 16 ปี เริ่มรับราชการเป็นเสมียนฝึกหัดอยู่ที่ศาลยุติธรรมเมืองแกลง พออายุครบ 18 ปี ก็ได้รับบรรจุเป็นเสมียนอยู่ที่ศาลยุติธรรมเมืองแกลง ทำงานอยู่ 4 ปี จึงลาออกจากราชการเพื่ออุปสมบท 

อุปสมบท

อุปสมบทเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2451 ณ พัทธสีมาวัดพลงช้างเผือก ตำบลวังหว้า (ปัจจุบันขึ้นกับตำบลทางเกวียน) อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

การศึกษาในระหว่างอุปสมบท เล่า ท่องสวดมนต์จบเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน มนต์ผูกต่างๆ ถึงภาณยักษ์และปาจิโมกข์ กับทั้งได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน สามารถอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี

ตำแหน่งหน้าที่ในระหว่างอุปสมบท

1. เป็นเจ้าอาวาสวัดพลงช้างเผือก และเป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อ พ.ศ.2457
2. เป็นรองเจ้าคณะแขวงแกลง เมื่อ พ.ศ.2458
3. เป็นเจ้าคณะหมวดวังหว้า เมื่อ พ.ศ.2459
4. เป็นครูใหญ่โรงเรียนแกลง ตั้งแต่ พ.ศ.2460 ถึง พ.ศ.2485
5. เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2475
6. เป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะแขวงแกลง เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2476
7. เป็นเจ้าคณะแขวงแกลง เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2476
8. เป็นกรรมการศึกษา เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2478
9. เป็นผู้อุปาการะโรงเรียนประจำอำเภอแกลง เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2485
10. เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2487
11. เป็นเจ้าคณะจังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2487

สมณศักดิ์

1. เป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมของพระครูสังฆการบุรพทิศ (ปั้น) เจ้าคณะแขวงแกลง เมื่อ พ.ศ.2458
2. เป็นพระปลัด เลื่อนจากฐานานุกรมเดิม เมื่อ พ.ศ. 2470
3. เป็นพระครูเจ้าคณะแขวง เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2476
4. เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูสังฆการบูรพทิศ ตำแหน่งเจ้าคณะแขวงแกลง เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2478
5. เป็นพระครูเจ้าคณะจังหวัดชั้นโท เมื่อ พ.ศ.2487
6. เลื่อนเป็นพระครูเจ้าคณะจังหวัดชั้นเอก เมื่อ พ.ศ.2492
7. เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระอริยคุณธราจารย์ บริหารระยอง เขตต์สังฆปาโมกข์ ในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2493
8. เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชอริยคุณธาร บูรพชลธีสมานคุณวิบุลคณกิจสุนทรยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2504

ผลงานด้านพระศาสนาและสาธารณประโยชน์

1. สร้างอุโบสถวัดพลงช้างเผือกสำเร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2459
2. สร้างหอสามัคคีธรรมวัดพลงช้างเผือก เมื่อ พ.ศ.2473
3. เป็นผู้อำนวยการสร้างถนนจากวัดพลงช้างเผือก ดัดตรงไปถึงปากน้ำประแสร์ ยาวประมาณ 8 กิโลเมตร เมื่อ พ.ศ.2478
4. สร้างกุฎีและบูรณะปฏิสังขรณ์กุฎีที่วัดพลงช้างเผือก ซึ่งชำรุดทรุดโทรมให้เป็นถาวรวัตถุต่อไป
5. สร้างเมรุ (ฌาปนสถาน) ที่วัดพลงช้างเผือก เมื่อ พ.ศ. 2505 เป็นเงิน 74,000 บาท
6. สร้างศาลาเพื่อเป็นที่พักผู้เดินทางหลายแห่ง
7. เป็นผู้อำนวยการสร้างสะพานเพื่อสาธารณะประโยชน์หลายแห่ง
8. บูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดป่าประดู่ โดยเปลี่ยนจากกระเบื้องซีเมนต์เป็นกระเบื้องเคลือบ ทาสีเพดานให้สวยงามยิ่งขึ้น และลงรักปิดทองพระประธานประตูหน้าต่างเสียใหม่
9. สร้างเมรุ (ฌาปนสถาน) ที่วัดป่าประดู่ เงินประมาณ 90,000 บาท
10.บูรณะปฏิสังขรณ์วิหารวิหารเก่าแก่ของวัดป่าประดู่ ซึ่งชำรุดทรุดโทรม ให้มั่นคงแข็งแรงและสวยงามกว่าเดิม
11.สร้างซุ้มประตูและกำแพงวัดป่าประดู่ เป็นเงินประมาณ 200,000 บาทเศษ
12.สร้างกุฏิใหม่และบูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิเก่าที่วัดป่าประดู่ ซึ่งชำรุดทรุดโทรมให้คงสภาพดีขึ้น

ผลงานด้านการศึกษา

1. เป็นผู้ริเริ่มตั้งโรงเรียนแกลง ?วิทยสถาวร? และเป็นครูใหญ่มาตั้งแต่ พ.ศ.2460 ถึงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2485 จึงได้ลาออกเป็นข้าราชการบำนาญ เพราะได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัด และต้องไปประจำอยู่ที่วัดป่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 
2. ชักชวนประชาชนให้ช่วยกันบริจาคทรัพย์สร้างหอประชุมโรงเรียนแกลง ?วิทยสถาวร? มีชื่อว่า ?หอประชุมอริยคุณธราจารย์?
3. เป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้อุปการะจัดตั้โรงเรียนวัดพลงช้างเผือก เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2477 
4.สร้าง อาคารเรียนโรงเรียนแกลง ?วิทยสถาวร? และสร้างโรงฝึกงาน รวม 3 หลัง (ขณะนี้รื้อถอนแล้ว 2 หลัง เพราะรัฐบาลได้ช่วยเหลือสร้างให้ใหม่)
5. เป็นหัวหน้าและผู้อุปการะสร้างอาคารโรงเรียนวัดพลงช้างเผือก รวม 10 ห้องเรียน

พระ ราชอริยคุณาธารเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่ประกอบด้วยคุณธรรมความรู้อันประเสริฐ สมควรยกย่องสรรเสริญและเคารพบูชาอย่างสูงในด้านวัตรปฏิบัติ ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสม่ำเสมอตลอดมา เคยออกปฏิบัติธุดงควัตร ทำกิจสวดมนต์ไหว้พระเป็นพระจำทุกวัน ตลอดทั้งลงอุโบสถสังฆกรรมมิได้ขาด ในด้านการปกครองท่านประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม ปราศจากอคติอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา รวมทั้งกุลบุตรธิดาที่อยู่ในวัดและในโรงเรียน ให้ประกอบแต่คุณงามความดี มีความสามัคคีซึ่งกันและกัน จนเป็นทีเคารพนับถือของคนทั่วไป ท่านเป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของการศึกษาเป็นอย่างมาก ให้ความสนับสนุนทุกด้าน เช่น เปิดโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกธรรม แผนกบาลี สร้างโรงเรียนประถม โรงเรียนมัธยม และอุดหนุนเกื้อกูลศิษย์ในความปกครองให้ได้รับการศึกษาจนสำเร็จขั้นสูงมาราย ด้วยกัน

พระราชอริยคุณาธารป่วยเป็นโรงมะเร็งในลำคอ ได้ไปเยียวยารักษาโดยการฉายรังษีที่โรงพยาบาลศิริราชจนทุเล่าและปกติดีได้ ประมาณ 10 ปี ต่อมาโรคมะเร็งกำเริบขึ้นอีก จึงเข้าไปฉายรังสีอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่ทุเลา ประกอบกับฉันภัตตาคารไม่ใคร่ได้ จึงทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย จนขั้นสุดท้ายฉันไม่ได้เลย จึงได้มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบเมื่อเวลา 03.05 น. ของวันที่11 พฤษภาคม พ.ศ.2505 (ถ้านับตามหลักโหราศาสตร์ ยังคงอยู่ในวันที่ 10 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันเกิดของท่านพอดี) สิริอายุได้ 78 ปี